วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ใครรู้จักเหรียญฟิลด์ส (Fields Medal): บ้าง



เหรียญฟิลด์ส (Fields Medal): รางวัลสูงสุดของคนคณิตศาสตร์
- เหรียญฟิลด์ส (Fields Medal) เหรียญฟิลด์ส (Fields Medal) คือรางวัลทางคณิตศาสตร์ที่หลายคนถือว่าเป็นรางวัลสูงสุดทางคณิตศาสตร์ ถ้าใครเคยดูภาพยนตร์ Good Will Hunting ที่มี แมตต์ เดมอน และ เบน แอฟเฟลก แสดง อาจเคยได้ยินชื่อของรางวัลนี้มาบ้าง (หรือว่าคุณสาว ๆ จะมัวกรี๊ดความหล่อของดาราคู่นี้ จนไม่ได้ยินชื่อรางวัลนี้กันละครับ)
บางคนเทียบเหรียญฟิลด์สให้เป็นรางวัลโนเบลของคณิตศาสตร์ แต่บางคนบอกว่ารางวัลนี้ได้ยากกว่ารางวัลโนเบลเสียอีก !?! เราจะมาติดตามกันว่าเหรียญฟิลด์สเป็นมาอย่างไร รายละเอียดต่าง ๆ และเหรียญฟิลด์สนั้น ได้ยากเย็นแสนเข็นจริงหรือ? กำเนิดของรางวัล ความฝันของคนคณิตศาสตร์ ศาสตราจารย์ จอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ส (John Charles Fields) นักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา ได้หมายมั่นปั้นมือจะให้มีรางวัลเป็นเกียรติกับนักคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นหน้าเป็นตากับวงการ ให้เทียบเคียงกับรางวัลโนเบล (ที่ทอดทิ้งสาขาคณิตศาสตร์ให้เศร้าสร้อย) ท่านเสนอให้มีรางวัลนี้ในที่ประชุมสภาคณิตศาสตร์สากล จัดขึ้น ณ แคนาดา เมื่อปี พ.ศ. 2467 ท่านใช้พลังความเป็นประธาน บวกกับนักคณิตศาสตร์ทั้งหลายกำลังน้อยใจรางวัลโนเบล จึงพร้อมใจตกลงให้มีรางวัลนี้ แต่กว่าที่รางวัลจะคลอดมาได้ ฟิลด์สก็ล้มหมอนนอนเสื่อลงเพราะตรากตรำงาน แม้แต่ตอนป่วยไข้ ท่านก็ยังไม่ถอดใจ ได้สั่งเสียให้เพื่อนร่วมงานของท่านให้จัดทำรางวัลให้สำเร็จ พร้อมทั้งมอบเงินของท่านสมทบเป็นรางวัล ท่านเสียชีวิตเมื่อปีพ.ศ. 2475 และรางวัลเหรียญฟิลด์สได้ถูกตั้งขึ้นในปีถัดมา (คล้าย ๆ กับรางวัลโนเบล ที่ผู้ผลักดันเสียชีวิตก่อนรางวัลจะเกิดขึ้น) “เหรียญฟิลด์ส” เป็นชื่อเล่นของรางวัลนี้ ชื่อจริงของรางวัลนี้ยาวเหยียดเหมือนกับรางรถไฟ นามเต็มคือ “International medals for outstanding discoveries in mathematics” แม้คุณฟิลด์สจะทุบโต๊ะประกาศชัดเจนว่า “จงให้รางวัลนี้ เป็นรางวัลสากล ไม่เกี่ยวกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด และให้ชื่อของรางวัลไม่เกี่ยวข้องกับประเทศ สถาบัน หรือชื่อของคน” แต่ชื่อรางวัลนี้ยาว.................มาก คนทั่วไปจึงเรียกรางวัลนี้สั้น ๆ ว่า “เหรียญฟิลด์ส” เพื่อเป็นเกียรติกับความฝันและความพยายามของคุณฟิลด์ส ด้านหน้าของเหรียญฟิลด์สเป็นรูปของอาร์คิมีดิส (Archimedes) ผู้เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรสมัยโบราณผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งข้อความเป็นภาษากรีกที่ต้องขอถ่ายทอดแบบเกรงจะผิดคือ (แก้ตัวว่า ดูจากหลายแหล่งแล้ว แปลไม่ค่อยเหมือนกัน) “ทะยานพ้นขอบเขตแห่งตน และเข้าใจซึ้งในจักรวาลทั้งมวล” อีกด้านมีคำจารึกที่แปลว่า “นักคณิตศาสตร์จากทั่วโลกชุมนุมกัน ณ ที่นี้ เพื่อให้เกียรติกับผลงานอันดีเลิศ”



วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Pythagoras...จอมอัจฉริยะแห่งกรีซ


ปีทาโกรัส(Pythagoras)
ประมาณ 572 - 500 ก่อนคริสต์ศักราช
ประวัติ
ปีทาโกรัสเป็นชาวกรีซ ท่านเคยศึกษาที่อียิปต์และได้ก่อตั้งสำนักปีทาโกเรียนที่เมืองCrotona ประเทศอิตาลี ปีทาโกรัสคิดว่าปริมาณต่างๆในธรรมชาติสามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนนับ เมื่อมีการค้นพบจำนวนอตรรกยะขึ้นทำให้ปีทาโกรัสและศิษย์ทั้งหลายเสียขวัญและกำลังใจ เมื่อทางราชการขับไล่เพราะกล่าวหาว่าสำนักปีทาโกเรียนเป็นสถาบันศักดินา สำนักปีทาโกเรียนก็สูญสลายไป

ผลงานของสำนักปีทาโกเรียนที่สำคัญ คือ จำนวนคู่ จำนวนคี่ จำนวนเชิงสามเหลี่ยม จำนวนเชิงจัตุรัส จำนวนอตรรกยะ พีชคณิตเชิงเรขาคณิต ทฤษฎีบทปีทาโกรัส

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

สวัสดี......ชาวบูรณวิทยา

วันนี้เรามีพื้นที่ดี ๆ สำหรับเราที่รักคณิตศาสตร์เหมือนกัน ถ้าใครมีเรื่องราวเกี่ยวกับคณิตที่น่าสนใจก็ส่งมาให้อ่านบ้างนะ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ขอขอบคุณล่วงหน้า.......ครูเจตน์ครับ

สวัสดีครับ....ผู้มีคณิตศาสตร์ในหัวใจ


เรามีพื้นที่แสดงความคิดเห็น...เสนอบทความดี ๆ...ก็เชิญเข้ามาพูดคุยกันได้ เชิญเลยนะครับ ยังไงก็ขอขอบคุณล่วงหน้าก่อนนะครับ

นักคณิตศาสตร์คนดัง



ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine หรือ Difference Engine) มีความสามารถคำนวณ, พิมพ์ตารางค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และสมการโพลิโนเมียล (Polynomial)คู่กับสมการผลต่าง (Difference equation) ได้ เครื่องจักรกลชนิดนี้ทำงานด้วยเครื่องยนต์พลังไอน้ำ มีข้อมูลบันทึกอยู่ใน บัตรเจาะรู (Punched Card) จึงสามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนพิมพ์ออกทางกระดาษ หลักการทำงานที่มีการรับข้อมูลการประมวลผล การแสดงผลได้อย่างอัตโนมัตินี้ ได้นำมาเป็นพื้นฐานสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้ยกย่องให้ ชาร์ล แบบเบจ เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์